head-bantaladkwai-min
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ โรงเรียนบ้านตลาดควาย(ประชานุกูล)
วันที่ 18 สิงหาคม 2024 4:40 PM
head-bantaladkwai-min
โรงเรียนบ้านตลาดควาย(ประชานุกูล)
1070480281-20130724-100856

นาง ชมัยภรณ์ เพชรเทียนชัย

ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านตลาดควาย(ประชานุกูล)

โรงเรียนบ้านตลาดควาย (ประชานุกูล)

โรงเรียนบ้านตลาดควาย (ประชานุกูล)  ตั้งอยู่หมู่โรงเรียนที่ 5  บ้านตลาดควาย  ตำบลจอมบึง  อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ก่อตั้งครั้งแรก เมื่อวันที่  5  มิถุนายน  พ.ศ. 2482 สร้างเป็นอาคารเรียนชั่วคราว โดยการออกแบและสร้างเอง ใช้เสาไม้เนื้อแข็ง หลังคามุงด้วยหญ้าคา จากความร่วมมือของประชาชนทั่วไปในหมู่บ้าน และพื้นที่ใกล้เคียง  โรงเรียนบ้านตลาดควาย(ประชานุกูล) นั้น ตั้งอยู่ในที่ดินข้างบึง ใน ตำบลจอมบึง ของนายจิตร สุขสมบูรณ์  ได้บริจาคให้กับโรงเรียน ซึ่งท่านได้เห็นความสำคัญของการศึกษาของลูกหลานที่จะได้มาศึกษาในโรงเรียนใกล้ๆบ้านนั้นเอง โดยมีการแต่งตั้ง ครูคนแรกชื่อนายสมหวัง แจ่มแจ้ง อีกด้วย

พ.ศ. 2498  ได้ย้ายมาเรียนที่ศาลาวัดตลาดควายเป็นการชั่วคราว

พ.ศ. 2503 คณะกรรมการศึกษาพร้อมด้วยผู้ปกครองนักเรียน ประชาชนและเจ้าอาวาสวัดตลาดควาย ได้ร่วมมือกันสร้างอาคารเรียนหลังใหม่เป็นอาคารเรียนชั่วคราว ได้รับงบประมาณสมทบจากทางราชการ  มีครูทั้งหมด   3  คน  เปิดเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

พ.ศ. 2504   ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณ  จำนวนเงิน  50,000 บาท สร้างอาคารเรียน แบบถาวรหลังคามุงด้วยสังกะสี ขนาด  3 ห้องเรียน ฝาไม้ โดยมีผู้บริจาคที่ดินให้ใช้ก่อสร้างเนื้อ

ที่จำนวน  6 ไร่เศษ รายชื่อผู้ที่ร่วมบริจาคที่ดินคือ นายวิง  นางบุญยัง  พรหมมา   , นางวน พรหมมา , นางเวียน  พรหมมา  และนายมี  เดชธนู   ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยได้ย้ายนักเรียนมาเรียนที่หลังใหม่

พ.ศ. 2507 ได้ทำพิธีเปิดป้ายเรียน   ชื่อโรงเรียน  “ โรงเรียนบ้านตลาดควาย (ประชานุกูล ) ”

พ.ศ. 2510 ได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง  แบบองค์การบริหารส่วนจังหวัด  งบประมาณ   25,000 บาท

พ.ศ. 2514   ได้รับงบประมาณจากทางราชการสร้างอาคารเรียน 1 หลัง   แบบ  ป.1  ข.  ขนาด 3 ห้องเรียน งบประมาณ 120,000  บาท ทางโรงเรียนได้ขอบริจาคที่ดินนางบุญยัง พรหมมา ได้มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินโรงเรียนเนื้อจำนวน 1  ไร่ เพื่อทำถนนทางเข้าโรงเรียน

พ.ศ. 2517 ได้รับงบประมาณสร้างส้วม 1 หลัง 5 ที่นั่ง

พ.ศ.  2521 ได้รับงบประมาณจากทางราชการสร้างอาคารเรียน   1   หลัง แบบ   ป.1 ก  ขนาด 4  ห้องเรียน งบประมาณ  240,000  บาท

พ.ศ. 2525  ได้รับงบประมาณจากทางราชการสร้างอาคารเอนกประสงค์ 1 หลัง  งบประมาณ 140,000 บาท (โรงอาหาร )

พ.ศ. 2526 ได้รับงบประมาณ   สร้างส้วม  1 หลัง ขนาด  4  ที่ งบประมาณ 28,000 บาท

พ.ศ. 2528 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน  1  หลัง แบบสปช. 103/26 ขนาด  3 ห้องเรียน งบประมาณ  360,000 บาท

พ.ศ. 2540 ได้ปรับปรุงอาคารเรียนหลังแรกที่ชำรุดทรุดโทรม  ใช้เงินงบประมาณโครงการการปรับปรุงโรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน   พร้อมทาสีโรงเรียนใหม่ทุกหลัง และทางราชการได้จัดสรรงบประมาณห้องปฏิบัติการพิเศษ  2 ห้อง  ได้แก่  ห้องปฏิบัติการทางภาษา และปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์พร้อมอุปกรณ์ประจำห้อง อาคารสถานที่ต่างๆ  ได้ส่งมอบขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุเรียบร้อย  ตามหนังสือสำคัญที่หลวง เลขที่ 000020 ที่ราชพัสดุแปลงเลขหมาย   รบ  360     มีพื้นที่  7 ไร่ 92  ตารางวา    มีอาณาเขตดังนี้ทิศเหนือ          ติดกับทางหลวงชนบทสายบ้านปากบึง  –    บ้านน้ำพุ
ทิศใต้

ติดที่ดินของนายมล   จุมพล  และ นายเชย   บัวคลี่

ทิศตะวันออก   ติดที่ดินของนางสำลี   บุญเกิด

ทิศตะวันตก     ติดที่ดินของนางบุญยัง     พรหมมา

วันที่  26 กันยายน  พ.ศ.2547 ทางราชการได้สั่งแต่งตั้งให้นายชัยรัตน์   เกิดทรัพย์  ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านทุ่งแฝก สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอจอมบึง  ราชบุรี ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่แทนตำแหน่งที่ว่าง  ทำหน้าที่บริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พ.ศ. 2549   องค์การบริหารส่วนตำบลจอมบึง ได้อนุมัติงบประมาณปรับปรุงก่อสร้างสนามกีฬาฟุตบอล  จำนวนเงิน  237,785  บาท  เป็นสนามที่มาตรฐานเพื่อให้นักเรียนและเยาวชนได้ใช้ประโยชน์ด้านการกีฬาประจำหมู่บ้าน

โรงเรียนบ้านตลาดควาย(ประชานุกูล)

วันที่ 5  ธันวาคม  2550 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  คณะครู ผู้ปกครองนักเรียนได้ร่วมมือจัดงานทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อหาทุนนำมาปรับปรุงอาคารเรียนที่ชำรุดทรุดโทรม  ได้เงินจำนวน  150,710 บาท  และโดยได้ดำเนินการซ่อมแซมปรับปรุงอาคารเรียนหลังที่ 3  แบบ  ป.1 ก.  ใช้เงินงบประมาณ  120,000 บาท  ช่วงปิดภาคเรียนประจำปีการศึกษา 2551 เสร็จเรียบร้อยเป็นอาคารเรียนที่สามารถใช้งานได้อีกนาน

พ.ศ.2552 ได้บริหารจัดการงบประมาณที่ได้รับจากทางราชการและงบบริจาคได้ดำเนินการปรับปรุงอาคารเรียนหลังแรกโดยการซ่อมแซมโครงสร้างหลังคา  เปลี่ยนกระเบื้องมุงหลัง ฝ้าเพดานพร้อมทาสี

พ.ศ.2553 ลุงไหม  ป้าไทย  อุษาบริสุทธิ์  บริจาคเงินสร้างห้องน้ำเพิ่มอีก 2  ห้อง  พร้อมปรับปรุงห้องน้ำเดิมด้วยการทาสีปูพื้นกระเบื้อง   บริจาคเงินจำนวน  50,000  บาท (ห้าหมื่นบาท)

พ.ศ.2555 ได้รับงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   หมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างให้ดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน  แบบ ป.1ข โดยการจ้างเหมา  นายประวิทย์  คุ้มฮะช่างในหมู่บ้าน

ตลาดควาย  งบประมาณ 188,000 บาท  ดำเนินการช่วงปิดภาคเรียน และได้ดำเนินการจ้างเหมานายสมรวม  พวงทอง  พร้อมเพื่อนๆ ปูกระเบื้องพื้นในห้องเรียน อาคารเรียนแบบ ป.1 ก.และระเบียงหน้าอาคารเรียน  อาคารสำนักงาน      โดยใช้เงินรายได้สถานศึกษาจากการบริจาคของคุณนิลดาว   ปทีรัตนะ   จำนวนเงิน 75,000 บาท  ทำให้โรงเรียนบ้านตลาดควายมีห้องเรียนที่สะอาด ปลอดภัยและเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน

ปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นปฐมวัย (อนุบาล)  ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน  8  ห้องเรียน  มีครูทั้งหมด  10 คน  นักเรียน  135 คน  จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นไปตามนโยบายของรัฐและความต้องการของชุมชน

วิสัยทัศน์  โรงเรียนบ้านตลาดควายฯ
โรงเรียนบ้านตลาดควาย (ประชานุกูล ) จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีความรู้คู่คุณธรรม  สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข  โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยและสิ่งแวดล้อม  ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา พัฒนาผู้เรียนให้พร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเศียน

 พันธกิจ      
1. พัฒนาและปรับปรุงระบบการบริหารสถานศึกษา  โดยเน้นกระบวนการบริการแบบมีส่วนร่วม
2. พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา  เพื่อเพิ่มศักยภาพและสมรรถนะในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. พัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ฝึกการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์  ฝึกปฏิบัติจริง  แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกโรงเรียนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. พัฒนาและส่งเสริมความสามารถของนักเรียนในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต
5. พัฒนาและส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้คู่คุณธรรม  จริยธรรมและมีที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร
6 . จัดการศึกษาโดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน
7.ส่งเสริม การอนุรักษ์ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีไทยและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา
8. ส่งเสริมการกระจายอำนาจเปิดโอกาสให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมให้การบริหารจัดการศึกษาและสร้างเครือข่ายการเรียนรู้สู่ชุมชน
9. เพื่อพัฒนาผู้เ้รียนให้มีความพร้อมและตระหนักในการเเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มีสมรรถนะที่สำคัญ มีจิตสำนึกความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองอาเซียน และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
   
เป้าหมาย
1. บุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับการพัฒนา  เข้ารับการอบรม  การประชุมสัมมนา  ให้มีความรู้ความสามารถทางวิชาชีพเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพอย่างน้อย ปีละไม่น้อยกว่า  20  ชั่วโมง
2. พัฒนาครูและส่งเสริมสนับสนุนครูให้จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ทุกลุ่มสาระการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ใช้สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยีทางการศึกษา(ICT) และใช้ แหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา

3.  ครูจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายวิธีการ  ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  การวัดผลประเมินตามสภาพจริง  ฝึกการคิดวิเคราะห์คิดสังเคราะห์  มีวิจารณญาณ  มีความคิดสร้างสรรค์  คิดไตร่ตรอง  และ  มีวิสัยทัศน์
4.นักเรียนมีความสามารถในการเชื่อมโยงการรับรู้ ประสบการณ์ ความคิดและจินตนาการ เป็นคนดีปฏิบัติตนตามค่านิยมของสังคมไม่เบียดเบียนผู้อื่น  มีคุณค่าคือเป็นคนที่รู้จักและเห็นคุณค่าของตนเองสร้างประโยชน์ต่อสังคม

5. สถานศึกษาดำเนินการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภารกิจหลักทั้งสี่งาน
6.ส่งเสริมให้นักเรียนมีจิตสาธารณร่วมอนุรักษ์ศาสนา  ศิลปะและวัฒนธรรมประเพณีไทยและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา
7.ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้สู่ชุมชน สร้างประโยชน์ต่อสังคม
8.ครูและนักเรียนมีความพร้อมและความตระหนักในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

Banner 1
Banner 2
Banner 3
Banner 4